วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทศพิธราชธรรม ๑๐


๑. ทาน หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครอง แผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์

๒. ศีล หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ

๓. บริจาค ได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า คือ เมื่อถึง คราวก็สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนม์ชีพ เพื่อรักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของ พระองค์ ๔. ความซื่อตรง (อาชชวะ) ได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อ พระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร

๕. ความอ่อนโยน (มัททวะ) หรือเคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า

๖. ความเพียร (ตบะ) หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน





๗. ความไม่โกรธ (อักโกธะ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้

๘. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร

๙. ความอดทน (ขันติ) คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย

๑๐. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนะ) คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ ๔ ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย



บทความ และภาพ จาก คุณพุทธมนต์ คคนัมพร

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ลูกชายคนเล็ก



มีครอบครัวเล็กๆครอบครัวหนึ่ง ผู้นำครอบครัวเกิดมาในตระกูลสูงศักดิ์ในขณะที่คู่ชีวิต
เป็นเพียงหญิงสาวชาวบ้านธรรมดายากจน แต่ทั้งสองก็รักกันดี ผู้นำฯเป็นหมอขณะที่ภรรยาเป็นพยาบาล
ไม่ได้มีอำนาจล้นฟ้าล้นแผ่นดินอะไร ไม่ได้คุมกำลังทหารแต่อย่างใด
มีบุตร3คน คนโตเป็นหญิง คนรองและคนสุดท้องเป็นชาย
และแล้วครอบครัวนี้ก็สูญเสียผู้นำไปอย่างไม่มีวันกลับทิ้งให้ผู้หญิงตัวเล็กๆต้องเลี้ยงลูก3คนที่ยังเล็กอยู่เพียงลำพัง
ในที่สุดผู้เป็นแม่ก็ตัดสินใจอพยพครอบครัวไปอยู่ยังต่างแดนเพื่อหนีภัยสงครามและภัยการเมืองในประเทศ
อยู่กันตามประสาแม่ลูกและพี่เลี้ยง อยู่แบบชาวบ้านธรรมดาไม่ได้หรูหราฟุ้งเฟ้อแต่อย่างใด บ้านหลังเล็กๆไม่ได้ใหญ่โตอะไร
ผู้เป็นแม่มักสอนให้ลูกรู้จักประหยัดอดออม อดทน มีเมตตาต่อผู้อื่นเสมอ มีระเบียบวินัย รู้จักการใช้จ่าย รู้จักทำมาหากิน
ให้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย โดยหารู้ไม่ว่าคำสอนเหล่านี้จะเป็นผลดีต่อผู้คนนับล้านในวันข้างหน้า
ก็อยู่กันมีความสุขดีตามอัตถภาพตามประสาครอบครัวเล็กๆครอบครัวหนึ่ง ใครจะไปรู้กาลเวลาข้างหน้าได้
ชีวิตที่อยู่อย่างปกติสุขตามประสาแม่ลูกก็ต้องมีเหตุให้พลิกผัน





เมื่อองค์ประมุขแห่งแผ่นดินเกิดได้สละราชสมบัติลาออกจากการเป็นกษัตริย์
รัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาได้มีมติให้อัญเชิญลูกชายคนรองของครอบครัวเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป
ผู้เป็นแม่รู้ดีว่าการไปเป็นกษัตริย์นั้นก็คือการสวมหัวโขน
โดยเฉพาะสภาพบ้านเมืองในขณะนั้นการแย่งชิงอำนาจของนักการเมือง ทหารเป็นไปอย่างดุเดือด
หากไปเป็นก็ไม่พ้นจะถูกลากลงไปในวังวนอันแสนเลวร้าย ไม่ได้อยู่เย็นเป็นสุขอะไรเลย
มีแต่เปลืองตัวเปล่าๆ จึงได้ปฏิเสธไปหลายคราแต่รัฐบาลก็ไม่ยอมโดยอ้างว่าให้เห็นแก่บ้านเมืองเป็นสำคัญ
ที่สุดจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในที่สุดผู้เป็นแม่จึงต้องยอมให้ลูกชายคนรองที่อายุเพียงไม่กีขวบ
ต้องไปเป็นกษัตริย์ของแผ่นดินเกิด

นับแต่นั้นมาชีวิตของครอบครัวเล็กๆครอบครัวนี้ที่เคยอยู่กันอย่างสงบสุขก็เปลี่ยนไปอย่างไม่มีวันที่จะ..
ได้กลับไปเป็นเหมือนเดิมอีกตลอดไป เพราะนับแต่นี้ไปชีวิตของครอบครัวนี้ก็ไม่สามารถเป็นไปเพื่อ
ตนเองได้อย่างเดียวอีกต่อไป แต่ทุกอย่างต้องทำไปเพื่อประชาชนของแผ่นดิน ไม่ใช่เพื่อของตนเองอีกต่อไปแล้ว

ความสงบสุขตามอย่างครอบครัวเล็กได้สูญสิ้นไปอย่างสิ้นเชิง ต้องทำตนเพื่อประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนเป็นสำคัญ
เวลาผ่านไปใครเลยจะคิดว่าครอบครัวนี้ต้องสูญเสียลูกชายคนรองอย่างไม่มีวันกลับ
และก็กลับกลายเป็นเหตุให้ส่งผลให้มีคนนำกรณีนี้มาโจมตีลูกชายคนเล็กต่อไปในอนาคตข้างหน้า





ในที่สุดลูกชายคนเล็กของครอบครัวก็ต้องเป็นกษัตริย์ต่อจากพี่ชาย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาลูกชายคนเล็กของครอบครัวนี้
ได้ทำงานให้กับประเทศ ประชาชนด้วยดวงตาเพียงข้างเดียวมาอย่างยาวนานกว่า60ปีแล้ว
ต้องอ่านหนังสือตำราต่างๆทั้งภาษาไทยและต่างประเทศด้วยดวงตาเพียงข้างเดียวค้นคว้าทดลองต่างๆ
เพื่อนำมาถ่ายทอดให้ประชาชนของตนได้เป็นประโยชน์ต่อไป
ข้าราชการ พนักงานอื่นๆยังมีวันหยุด มีวันพักร้อน แต่ลูกชายคนเล็กของครอบครัวนี้ไม่มีวันหยุดเสาร์อาทิตย
ไม่มีวันหยุดลาพักร้อน ต้องนอนดึกๆดื่นๆทำงานต่างๆมากมาย

แม้ยามเจ็บป่วยก็ยังต้องทำงานอยู่ และที่ต้องล้มป่วยจนเป็นโรคหัวใจก็เพราะไปติดเชื้อจากการไปเยี่ยมเยียนประชาชน
ขอถามท่านผู้มีใจเป็นธรรมทั้งหลายดังนี้....

1 คนที่ทำงานมามากมายขนาดนี้ ยาวนานขนาดนี้ก็ย่อมมีผิดพลาดบ้างซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของคนทำงาน
แต่กลับต้องมาถูกใส่ร้ายป้ายสี ตำหนิติเตียนด้วยความไม่เป็นธรรมแบบนี้ท่านว่าสมควรหรือไม่
แล้วคนเหล่านั้นได้ทำประโยชน์อันใดให้กับแผ่นดินเกิดบ้าง

2 เรื่องหลายเรื่องของครอบครัวท่านซึ่งมีทั้งจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง(ไม่จริงเสียส่วนมาก)
หลายเรื่องเป็นเรื่องส่วนตัวไม่ได้ทำให้สังคมเดือดร้อน หลายเรื่องเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
มีการใส่ร้ายป้ายสีต่างๆนาๆโดยที่ครอบครัวของท่านไม่อยู่ในสถานะที่จะออกมาตอบโต้แก้ข้อกล่าวหาเหล่านั้นได้เล
ถามว่าท่านจะไม่ให้ความคุ้มครองกับครอบครัวที่ทำงานให้ประโยชน์กับประเทศชาติไว้อย่างมากมายไม่น้อยไปกว่า
ครอบครัวอื่นๆหรือ

3 บรรพบุรุษของท่านก็ร่วมปกป้องเสียสละให้แผ่นดินไม่ได้ต่างจากตระกูลอื่นๆจนประชาชนได้อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข
ในขณะที่หลายๆตระกูลอพยพมาจากแผ่นดินอื่นมาอาศัยใบบุญแผ่นดินนี้จนมีฐานะร่ำรวย โดยที่ไม่เคยได้ปกป้องหรือ
ทำคุณให้กับแผ่นดินเหมือนกับบรรพบุรุษของท่านแล้วเหตุใดจึงมาไล่ท่านออกไปจากแผ่นดินนี้เล่า

4 สิ่งที่ลูกชายคนเล็กและครอบครัวได้ทำงานให้กับประเทศนี้มามากมายยังไม่พออีกน่ะหรื
จะให้ท่านและครอบครัวของท่านทำอะไรอีกพวกท่านถึงจะพอใจแล้วพวกคุณน่ะทำอะไรให้กับประเทศกับสังคมนี้บ้าง
เหตุใดจึงจ้องจะทำลายล้างครอบครัวนี้ให้จงได้ ท่านและครอบครัวของท่านไปทำอะไรพวกคุณหรือ
พวกคุณถึงได้คิดจะทำลายล้างท่านได้ถึงเพียงนี้

5 บัดนี้ท่านอายุย่างเข้า84แล้วอยู่ในวัยชราแล้วพวกคุณจะไล่ให้ท่านไปอยู่ที่ใด
สิ่งที่ท่านทำมาให้กับแผ่นดินนี้มันไม่เพียงพอที่จะให้ท่านและครอบครัวของท่านได้อยู่ในแผ่นดินนี้
แผ่นดินที่บรรพบุรุษของท่านก็ได้ปกป้องด้วยชีวิตเช่นกันได้เลยหรือ

ขอถามท่านผู้มีใจเป็นธรรมว่าพวกท่านต้องการอะไรจากลูกชายคนเล็กของครอบครัวนี้อีกหรือ
ต้องการให้ท่านทำอะไรให้กับแผ่นดินนี้อีกพวกคุณถึงจะพอใจถึงจะยอมเลิกจองล้างจองผลาญท่านเสียที
บทความนี้จัดทำโดยพุทธมนต์ คคนัมพร




วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภูมิพล ในหลวง พ่อของแผ่นดิน


‎"นักการเมืองยื่นปลา พระราชายื่นเบ็ด"

"นักการเมืองยื่นปลา" คือลักษณะการทำงานของนักการเมืองที่มักจะหยิบยื่นและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนนิยม "อันเป็นลักษณะธรรมชาติทั่วไปของนักการเมืองทุกชาติทุกภาษา" แต่การยื่นปลานั้นไม่ใช่การสร้างถนน สร้างไฟฟ้า สร้างปะปา หรือสาธารณูปโภค การยื่นปลาที่ว่าหมายถึง "นโยบายประชานิยม" ไม่ว่าจะแจกของ แจกเงิน ขึ้นเงินเดือนค่าแรง สร้างรถไฟฟ้าตามใจนักการเมืองโดยไม่คำนึงถึงปริมาณความจำเป็นที่แท้จริงของประชาชน เป็นต้น

นโยบายประชานิยมเป็นที่น่ารังเกียจของนักวิชาการมาทุกยุคทุกสมัยกลับกลายเป็น "นโยบายหลัก" ในการหาเสียงกับประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้ การยื่นแต่ปลาให้กับประชาชนคือการสร้างความรวดเร็วในการพัฒนาประเทศและตักตวงซึ่งคะแนนนิยม การหยิบปลาจากแม่น้ำใส่มือประชาชนที่มาขึ้นทุกๆวันนี้ก็คงจะทำให้ "ปลา" หมดไปจากแม่น้ำในเร็ววัน เพราะเท่าที่ผมสังเกตดูแล้วรัฐบาลหลายรัฐบาลไม่ได้ใส่ใจที่จะเพาะพันธุ์ปลา แต่คิดจะตักปลาในแม่น้ำใส่มือประชาชนอย่างเดียว ซึ่งแตกต่างกับวิถีการทรงงานของพระราชาที่ทรงเพียรทำมาโดยตลอดหกสิบกว่าปี อันเป็นที่มาของคำว่า "พระราชายื่นเบ็ด"

"พระราชายื่นเบ็ด" คือลักษณะการทรงงานของในหลวงคือ "ยื่นเบ็ดตกปลา" ให้ประชาชนแล้วสอนว่าต้องตกปลาอย่างไร ลักษณะการทรงงานแบบนี้ต้องใช้เวลา เห็นผลช้า และประชาชนไม่นิยม อีกทั้งไม่เป็นที่ใส่ใจและน้อมนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังจากรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ลักษณะงานแบบพระราชายื่นเบ็ดนี้ยังเป็นการ "ถนอม" ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรบุคคล รวมทั้งงบประมาณแผ่นดินได้อย่างมหาศาล สังเกตได้จากลักษณะโดยทั่วไปของโครงการตามพระราชดำริของในหลวงซึ่งจะเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้งบประมาณที่จำกัด แต่กลับได้ผลเกินคาด ซึ่งเราจะหาโครงการแบบนี้ตามโครงการของรัฐบาลไม่ได้สักโครงการเดียว

"พระราชายื่นเบ็ด" นี้ต้องอาศัยความต่อเนื่องของการติดตามโครงการกินเวลานาน โครงการตามพระราชดำริ(ด้านการเกษตร-ปศุสัตว์)บางโครงการต้องใช้เวลาเป็นสิบปีเพื่อพิสูจน์ความเป็นจริงตามพระราชดำรัสที่ทรงให้ไว้ตั้งแต่เริ่มโครงการ ประชาชนหลายๆแห่งแม้อยู่ต่อหน้าพระพักตร์รับทุกอย่าง แต่เมื่อลงมือปฏิบัติจริงกลับเกิดคำถามในใจ "จะสำเร็จจริงหรือ" ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าใจในความคิดนี้ของประชาชน ทรงเน้นย้ำให้ข้าราชการและหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องติดตามผลและรายงานผลให้พระองค์รับทราบตลอดเวลา จนกระทั่งผ่านไปหลายปีเมื่อโครงการตามพระราชดำริสำเร็จ ประชาชนที่เคยคิดว่า "จะสำเร็จจริงหรือ" ก็กลับกลายเป็น "น้ำตาของความดีใจ" ทันทีที่หวนนึกถึงและรู้สึกดีที่อดทนพิสูจน์พระราชกระแสรับสั่งที่เคยให้ไว้เมื่อหลายปีก่อน

แต่การทำงานของ "รัฐบาล" นั้นมีเวลาจำกัด และต้องอยู่ในสถานะที่ได้รับความนิยมจากประชาชนโดยตลอด ทำให้ลักษณะการทำงานออกมาในแนวทางของการ "ยื่นปลา" ซึ่งรวดเร็ว และประชาชนก็ชื่นชอบ ไม่ต้องรอเป็นสิบๆปี แต่กระนั้น "ความไม่ยั่งยืน" ก็จะถามหาภาคประชาชน ความไม่ยั่งยืนที่ว่าพร้อมทำลาย "รากฐาน" ของประเทศไทย นั่นคือ "เกษตรกรรม" ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเท่าที่ผมสังเกตมาในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาแทบจะไม่มีรัฐบาลไหนที่ให้ความสำคัญกับ "น้ำมันบนดิน" หรือภาคการเกษตรซึ่งเป็นรากฐานของประเทศไทยมาตั้งแต่ยังเป็นกรุงศรีอยุธยา

พระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญของ "เกษตรกรรม" ไทยมากเป็นพิเศษ เพราะทรงเข้าใจพื้นหลังและสภาพความเป็นจริงของชนชาติไทย และภูมิประเทศที่เอื้อกับการเกษตรมากกว่าอุตสาหกรรม โครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่จึงเป็นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำ กักเก็บแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และเป็นโครงการส่งเสริมด้านการเกษตร ซึ่งน่าเสียดายที่รัฐบาลไทยหลายสมัยไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้เท่าที่ควร ประชาชนส่วนใหญ่ที่เคยทำงานด้านการเกษตรก็ทิ้งเรือสวนไร่นาไปอยู่โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจการเกษตรก็ตกไปอยู่ในอุ้งมือนายทุนใหญ่ไม่กี่ราย ซึ่งเขาสามารถกำหนดราคาสินค้าในตลาด ควบคุมการกินของคนไทยได้สำเร็จ

หลายคนอาจมองว่าดี แต่สำหรับผมแล้วการผูกขาดการค้าโดยนายทุนไม่เคยมีคำว่าดีสักนิด พระเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริม "สหกรณ์ชุมชน" เพราะเป็นสิ่งที่จะทำให้ประชาชนลืมตาอ้าปากและสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชนโดยไม่ต้องพึ่งพานายทุน แต่ปัจจุบันสหกรณ์ชุมนุมกลายเป็นเพียงทฤษฎีในตำรา ที่ประสบความสำเร็จก็จะต้องใช้เวลาหลายปี อีกทั้งการไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องความรู้ความเข้าใจ จึงทำให้ "นายทุนการเกษตร" เข้ามาครอบครองส่วนแบ่งการตลาดจากสหกรณ์ของประชาชนไปเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

โดยที่นายทุนนั้นก็อิงแอบกับภาคการเมืองเพื่อให้ "เดินสะดวก" ในการทำธุรกิจ มันจึงกลายเป็นวัฏจักรที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่หายนะในไม่ช้า

และทันทีที่บ้านเมืองเกิดหายนะทางเศรษฐกิจรวมทั้งความเชื่อมั่นของคนในชาติที่ลดลงกับการเมืองก็จะหันไปมอง "เบ็ดตกปลา" ของพระเจ้าอยู่หัวอีกครั้ง โดยที่ไม่รู้ตัวและสำนึกตัวว่า "สายไปเสียแล้ว" ที่เราจะไปหยิบเบ็ดตกปลานั้นมาใช้ !!!

บทความจาก คุณพุทธมนต์ คคนัมพร